
จมมานานกว่า 30 ปี!! "วัดวังก์วิเวการาม" เมืองใต้บาดาลอันสวยงาม กับประวัติความเป็นมาน่ามหัศจรรย์!!เป็นบุญตาของชีวิต สักครั้งต้องลองไปสัมผัส!!
2017-07-13 20:49:06
เรื่องราวความพิศวงในประเทศไทยยังมีอีกมากมายให้เราให้ได้ค้นหาอีกมากมาย วันนี้ T-Sood.com ขอนำเสนอความน่ามหัศจรรย์ของเมืองไทยที่นับเป็นอะเมซิ่งที่หาดูได้ยากมาก สถานที่แห่งนี้คือ "เมืองบาดาล" ที่จมอยู่ใต้น้ำมานานกว่า 33 ปีแล้ว โดยจมอยู่ใต้เขื่อนเขาแหลม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งเมื่อก่อนเคย ตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นดิน ก่อนจมลงใต้บาดาล
วัดวังก์วิเวการาม
"วัดวังก์วิเวการาม" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลวงพ่ออุตตมะ" เป็นบริเวณวัดหลวงพ่ออุตตมะเดิมที่ ปัจจุบันพระอุโบสถหลังเก่าจมอยู่ใต้น้ำเป็นที่รู้จักในชื่อว่า "วัดใต้น้ำ สังขละบุรี" เราจะสามารถเห็นได้ชัดในช่วงฤดูแล้งช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เพราะน้ำจะลด ทำให้สามารถมองเห็นโบสถ์ของวัดได้อย่างชัดเจน
ถ้าน้ำลดเราจะพบเห็นได้ชัดเจน
ความสวยงามใต้น้ำ
แต่ในช่วงน้ำขึ้นน้ำจะท่วมสูงเกือบทั้งหมด เหลือเพียงยอดโบสถ์ให้เห็นเท่านั้น หากใครที่ต้องการชมความงดงามของโบสถ์ และศาลาการเปรียญของวัดวังก์วิเวการามเดิมอย่างใกล้ชิด ควรเดินทางมาก่อนเดือนสิงหาคม ก่อนที่น้ำจะเพิ่มระดับสูงขึ้น
เมืองบาดาล
ซึ่งประวัติความเป็นมาของ "วัดวังก์วิเวการาม" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลวงพ่ออุตตมะ" เป็นวัดที่หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2496 ที่บ้านวังกะล่าง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในระยะแรกมีเพียงกุฏิและศาลา มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ ใกล้กับชายแดนไทย-พม่า ห่างจากอำเภอเมืองกาญจนบุรี ประมาณ 220 กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า "สามประสบ" เป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สาย คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน
ภาพของวัดขณะจมดิ่งใต้น้ำ
กำแพงวัด
ภาพเมืองใต้น้ำ
เป็นการก่อสร้างด้วยศิลปะแบบมอญ มีพระพุทธรูปหินอ่อน และ งาช้างแมมมอธ มีเจดีย์พุทธคยาจำลอง สร้างจำลองแบบจาก เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย หลังจากนั้น พ.ศ.2529 ได้มีการสร้างสะพานมอญ สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ยาวประมาณ 900 เมตร
ภายในโบสถ์หลังเก่า
หลังจากที่พื้นที่ตรงนั้นประสบปัญหาภัยแล้งจึงจำเป็นต้องสร้างเขื่อนเขาแหลมจึงได้ย้ายวัดมาอยู่บนเนินเขาต้องพื้นที่ในปัจจุบัน เมื่อกักเก็บน้ำแล้ว น้ำในเขื่อนเขาแหลมจะท่วมตัวอำเภอเก่ารวมทั้งบริเวณหมู่บ้านชาวมอญทั้งหมด หลวงพ่ออุตตมะได้จัดสรรที่ดินของวัดวังก์วิเวการามให้ชาวบ้านครอบครัวละ 30 ตารางวา
ภาพเมืองบาดาล
ปัจจุบันหมู่บ้านชาวมอญมีพื้นที่ราว 1,000 ไร่เศษ มีผู้อาศัยราว 1,000 หลังคาเรือน ชาวบ้านเกือบทั้งหมดจัดเป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าซึ่งไม่มีบัตรประชาชน หาเลี้ยงชีพโดยการปลูกพืชผักสวนครัวตามชายน้ำ ทำประมงชายฝั่ง คนหนุ่มสาวส่วนหนึ่งนิยมเป็นลูกจ้างในโรงงานเย็บเสื้อที่อยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้าน
วัดวังก์วิเวการามปัจจุบัน
วัดวังก์วิเวการามปัจจุบัน
ข้อมูลจาก : wikipedia , mthai
คลิปจาก : เรื่องจริงผ่านจอ
เรียบเรียง และ เขียนข่าวโดย
สุภัทชา เผือกกันสี : ทีมงาน ที่สุดดอทคอม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง